หัวข้อ  “รัฐธรรมนูญ กับการปฏิรูปประเทศ
ประชาชน เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแต่เสนอให้มีการแก้ไขในบางส่วน โดยเฉพาะประเด็นที่มาของ สว.
59.6 % ไม่มั่นใจว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้รัฐบาลชุดต่อไปปฏิรูปประเทศได้สำเร็จ
50.4% ระบุการปฏิรูปประเทศจะสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับผู้นำประเทศเป็นสำคัญ
59.7 % หากเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจะส่งผลต่อความน่าเชื่อถือจากต่างประเทศ
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ทำการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,102 คน เรื่อง “รัฐธรรมนูญ
กับการปฏิรูปประเทศ ”
พบว่า
 
                ประชาชนร้อยละ 37.6 เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
แต่อยากให้มีการแก้ไขในบางส่วน
รองลงมาร้อยละ 23.7 ระบุว่าเห็นด้วยทั้งฉบับ
มีเพียงร้อยละ 9.2 เท่านั้น ที่ระบุว่าไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 29.5 ไม่แน่ใจ
 
                 สำหรับประเด็นที่ประชาชนอยากให้มีการแก้ไขมากที่สุดในร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับนี้ คือ ประเด็นที่มาของ สว. ที่อยากให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
(ร้อยละ 25.0)
รองลงมาคือ ประเด็นที่มาของนายกฯ ว่าควรมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
(ร้อยละ 17.1) และการกำหนดบทลงโทษนักการเมืองที่คอร์รัปชั่นให้หนัก (ร้อยละ 11.6)
 
                 เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับการมีนายกฯ คนนอกได้ แต่ต้องได้รับเสียงโหวตจากในสภา 2 ใน 3 พบว่า
ประชาชนร้อยละ 48.0 ระบุว่าเห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 44.5 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ที่เหลือร้อยละ 7.5 ไม่แน่ใจ
 
                  ส่วนความมั่นใจที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าจะช่วยให้รัฐบาลชุดต่อไปสามารถปฏิรูปประเทศได้สำเร็จ
หรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 59.6 ระบุว่าไม่มั่นใจ ขณะที่ร้อยละ 40.4 ระบุว่ามั่นใจ
 
                  เมื่อถามว่า “ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศขึ้นอยู่กับปัจจัยใดมากกว่ากันระหว่างผู้นำประเทศ
กับความสมบูรณ์แบบของรัฐธรรมนูญ” ประชาชนร้อยละ 50.4 ระบุว่าผู้นำประเทศสำคัญกว่า ขณะที่ร้อยละ 40.8
ระบุว่าความสมบูรณ์แบบของรัฐธรรมนูญสำคัญกว่า และร้อยละ 8.8 ไม่แน่ใจ
 
                นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 72.8 เห็นว่ารัฐธรรมนูญจำเป็นต้องบัญญัติให้มี คณะ
กรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปฯ เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ในการปฏิรูปประเทศ
ขณะที่ร้อยละ 17.8 เห็นว่า
ไม่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการดังกล่าว ที่เหลือร้อยละ 9.4 ไม่แน่ใจ ขณะที่ร้อยละ 40.4 ระบุว่ามั่นใจ
 
                  สำหรับประเด็นการเลื่อนเลือกตั้งออกไปจากโรดแมปเดิม ประชาชนร้อยละ 59.7 คิดว่าจะส่งผลกระทบ
ต่อความน่าเชื่อถือจากต่างประเทศ
ขณะที่ร้อยละ 33.9 คิดว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ที่เหลือร้อยละ
6.4 ไม่แน่ใจ
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ

 
ร้อยละ
เห็นด้วยทั้งฉบับ
23.7
เห็นด้วยแต่อยากให้มีการแก้ไขบางส่วน
37.6
ไม่เห็นด้วย
9.2
ไม่แน่ใจ
29.5
 
 
             2. ประเด็นที่อยากให้มีการแก้ไขมากที่สุดในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 5 อันดับแรก คือ
                   (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
อันดับ 1 ที่มาของ สว. ที่อยากให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
25.0
อันดับ 2 ที่มาของนายกฯ ควรมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น นายกฯ คนนอก
            ควรเป็นเฉพาะกรณีฉุกเฉิน
17.1
อันดับ 3 การกำหนดบทลงโทษนักการเมืองที่คอร์รัปชั่นให้หนัก และมีข้อบังคับ
            นักการเมืองเพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น
11.6
อันดับ 4 ด้านสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชนของประชาชน ตลอดจนการแสดง
            ความคิดเห็น โดยให้ประชาชนรู้สึกว่ามีสิทธิในประชาธิปไตยมากกว่านี้
9.2
อันดับ 5 ด้านการปฏิรูปการศึกษา ระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
5.5
 
 
             3. ความเห็นที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นที่สามารถมีนายกฯ คนนอกได้โดยต้องได้รับเสียงโหวต
                 จากในสภา 2 ใน 3

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
48.0
ไม่เห็นด้วย
44.5
ไม่แน่ใจ
7.5
 
 
             4. ความมั่นใจที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าจะช่วยให้รัฐบาลชุดต่อไปสามารถปฏิรูปประเทศได้สำเร็จ

 
ร้อยละ
มั่นใจ
40.4
ไม่มั่นใจ
59.6
 
 
             5. ความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศขึ้นอยู่กับปัจจัยใดมากกว่ากันระหว่างผู้นำประเทศกับความ
                  สมบูรณ์แบบของรัฐธรรมนูญ

 
ร้อยละ
ผู้นำประเทศสำคัญกว่า
50.4
ความสมบูรณ์แบบของรัฐธรรมนูญสำคัญกว่า
40.8
ไม่แน่ใจ
8.8
 
 
             6. การสืบทอดเจตนารมณ์ในการปฏิรูปประเทศ จำเป็นหรือไม่ที่รัฐธรรมนูญจะต้องบัญญัติให้มีการจัดตั้ง
                  คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปฯ เพื่อเสนอแนะนโยบายต่อรัฐสภา นายกฯและคณะรัฐมนตรี

 
ร้อยละ
จำเป็น
72.8
ไม่จำเป็น
17.8
ไม่แน่ใจ
9.4
 
 
             7. เมื่อถามว่า หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากโรดแมปเดิม จะส่งผลกระทบต่อความ น่าเชื่อถือ
                 จากต่างประเทศหรือไม่

 
ร้อยละ
ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือจากต่างประเทศ
59.7
ไม่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือจากต่างประเทศ
33.9
ไม่แน่ใจ
6.4
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพื่อนำไปสู่
การปฏิรูปประเทศในประเด็นต่างๆ ตลอดจนความเห็นในกรณีที่มีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปจากที่โรดแมป ทั้งนี้เพื่อ
สะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  สำรวจจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Simple Random Sampling แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ
(Open Ended) จากนั้นจึงได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 28 -30 เมษายน 2558
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 3 พฤษภาคม 2558
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
592
53.7
             หญิง
510
46.3
รวม
1,102
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
150
13.6
             31 – 40 ปี
252
22.9
             41 – 50 ปี
330
29.9
             51 – 60 ปี
231
21.0
             61 ปีขึ้นไป
139
12.6
รวม
1,102
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
670
60.8
             ปริญญาตรี
337
30.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
95
8.6
รวม
1,102
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
168
15.2
             ลูกจ้างเอกชน
284
25.8
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
375
34.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
73
6.6
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
153
13.9
             นักเรียน/ นักศึกษา
30
2.7
             ว่างงาน/ รอฤดูกาล/ รวมกลุ่ม
15
1.4
รวม
1,102
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776